วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5


 บันทึกอนุทิน  
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤน แจ่มถิ่น
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่  11  กุมภาพันธ์  2558
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับ

"ก่อนเรียนวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม วาดรูปมือตัวเอง"
โดยมีกติกาคือ  ให้ใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดรูปมือตัวเองให้เหมือนที่สุด


 ถุงมือที่ใช้ทำกิจกรรม 

  มือที่วาดด้วยความตั้งใจ 




      เรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ 

ทัศนของครูและทัศนคติ
  
  ครั้งแรกที่ครูเจอเด็ก ต้องมองเด็กให้เป็นเด็ก หากครูมองว่าเด็กบางคนผิดปกติ เด็กจะรู้สึกได้ทันที

การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้นๆ 
  • สัมมนา
  • สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง เช่น พฤติกรรมการเรียน
  • มองเด็กให้เป็น " เด็ก " 
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า (สำคัญมาก)
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย 
      มองเด็กให้ออกแล้วเก็บไว้กับตัว เวลามองอย่าหยุกชงักที่ใครนานนัก เดี๋ยวเด็กจะรู้ตัว
   * วุฒิภาวะเด็ก แต่ละคนจะใกล้เคียงกัน แรงจูงใจต่างกัน เด็กทุกคนมีโอกาสเท่าๆกัน
     เด็กพิเศษจะได้รับการรับรู้น้อยกว่า ช้ากว่าเด็กปกติ

ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะแรงจูงใจ                                                                 
  • โอกาส 
การสอนโดยบังเอิญ (เป็นวิธีการสอนที่ดีมาก)
  • เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้น  เช่น การที่เด็กถือสีกุดๆมาให้ครู เพื่อให้ครูช่วย เมื่อครูช่วยแกะให้ ในขณะนั้นสามารถแทรกการสอนวิธีแกะกับเด็กได้
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • มีความสนใจเด็ก
  • มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • มีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • มีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
     เด็กชอบวิ่งมาหาครู เวลาที่เด็กมีปันหา
     เมื่อเด็กมาปรึกษาคนใดคนหนึ่ง อย่าหยุดกับเด็กคนนั้นนานเกินไป อาจทำให้ด็กรู้สึกว่าครูไม่สนใจ

อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
เพิ่มเติม สื่อที่เหมาะกับห้องเรียนเรียนรวม ควรเป็นสื่อที่ไม่เล่นแบบตายตัว เป็นสื่อที่เล่นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่เป็นสื่อแยกแยะประเภทเด็ก และสื่อควรมีความหลากหลาย

       สิ่งที่เหมาะสมในห้องเรียนรวมจะต้องไม่มีการแบ่งแยกเพศ

ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำถึงถึงความพอเหมาะของเวลา
  การเคลื่อนไหว มักเป็นกิจกรรมแรกที่เด็กได้เจอ

ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตและความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน  
การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ ฟังหูไว้หู
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้

เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
  เด็กทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง อยู่ที่ว่าใครมีมาก

เทคนิคการให้แรงเสริม
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา ชม 
  • การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ายิ้ม รับ ฟัง
  • สัมผัสทางกาย กอด ลูบหัว
  • ให้ความช่วยเหลือ 
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้เสริมแรงในเด็กปฐมวัย
  • ให้แรงเสริมเด็กทันทีที่มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวขั้นต่อไป
  • ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น"
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน เช่นการเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง เช่น การสอนไปข้างหน้า ยกตัวอย่าง ตือ การตักซุป 1. การจับช้อน 2. การตัก 3. การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก 4. การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำหกรดคาง 5. การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก เริ่มต้นจากขั้นแรกสอนจับช้อน ให้เด็กได้ทำเอง หลังจากนั้น 2-5 ครูช่วยด้วย
  • สอนแบบย้อน คือ 5-1 หรือ ยกตัวอย่างเช่น การผูกเชือกรองเท้า มัดให้เด็กตั้งแต่ต้น ผูกโบให้เรียบร้อย แล้วให้น้องดึงโบเอง
  การกำหนดเวลา อย่าให้มากจนเกินไป

การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • งดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก 1
  • เอาเด็กออกจากของเล่น 2

  อาจารย์มี post test มาให้นักศึกษาได้ร่วมกันตอบทั้งห้อง  




                    
 อาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลง




 เพลง ผลไม้

ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย ละมุด พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์

 เพลง กินผักกัน 

กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี

 เพลง ดอกไม้ 

ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู

 เพลง จ้ำจี้ดอกไม้ 

จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไง่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี

                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

การประเมิน

             ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ขยัน

             เพื่อน :  เล่นกัน คุยกันล้างนิดหน่อย  แต่ก็ตั้งใจเรียน ฟังที่อาจารย์สอน

             อาจารย์ :  สอนง่าย เข้าใจดี




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น